วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


ระบบสารสนเทศเพื่อประมวลผล  เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลผล

รายการธุรกรรม  ข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำเพื่อสนับสนุนการทำงานระดับปฏิบัติการ







24. พิมพ์ชนก  น้อยคำ
เน็ตบุ๊ค  อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือโน๊ตบุ๊คแต่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่า นิยมใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้สร้างชิ้นมากเหนือคอมพิวเตอร์ทั่วไป

25. คชาภรณ์   เอี่ยมสงคราม
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์  การกระทำความผิดทางกฏหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
อินเทอร์นัลโมเด็ม  เป็นโมเด็มทีติดตั้งภายในเคสของคอมพิวเตอร์ มีราคาถูก ติดตั้งและซอมแซมได้ยาก เวลาทำงานจะเกิดความร้อนซึ่งเป็นผลเสียต่อการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์

26. เอมิกา  ดวงทอง
Batch processing:การประมวลผลแบบกลุ่ม  การประมวลผลของตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขจะมีการประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผล เป็นแบบเรียงลำดับ การรันโปรแกรมของคอมพิวเตอร์จะรัน 1 โปรแกรมไม่เหมือนกับที่ต้องการ รันโปรแกรมทีละ Operator ในโปรแกรม
27. กลมวรรณ  ลัทธิ
โลกาภิวัตน์  การเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลมาจากการพัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้ประชากรโลกเกิดการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว มีความหมายเหมือนกับโลกานุวัตร
เวอร์ชัน  รุ่นของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้รับการพัฒนาจากรุ่นเดิม โดยในเวอร์ชันของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ มักจะแสดงไว้ด้ายหลังชื่อของผลิตภัณฑ์

28. ชนิสร  ม่วงศรี
ไคลเอนต์  เรียกอีกอย่างว่า เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องที่ต้องให้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลและเครื่องที่สามารถประมวลผลได้เอง ปกติจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าเซิร์ฟเวอร์

29. ธัญญาลักษณ์  ทองบุญชู
คลิปวีดีโอ  ภาพ เคลื่อนไหวประกอบเสียงที่ที่เป็นเหตุการณ์จริง ซึ่งบันทึกไว้ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กนิยมอัปโหลดไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์บนอินเทอร์เน็ตปัจจุบันสามารถเรียกดูได้ทั้งทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที 

30. ธิธาน สุทะมา
Scanner(สแกนเนอร์)  เป็นอุปกรณ์ที่จับภาพจากเครื่องพิมพ์ภาพ (photographic print) โปสเตอร์ หน้านิตยสร และแหล่งคล้ายกันสำหรับการแก้ไขและแสดงผลของคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ มาใน hand-held, feed-in และ ประเภท flatbed และสำหรับการสแกนเฉพาะดำขาว หรือสี สแกนเนอร์ความละเอียดสูงได้รับการใช้สำหรับการสแกนสำหรับการพิมพ์ความละเอียดสูง แต่สแกนเนอร์ความละเอียดต่ำเพียงพอสำหรับการจับภาพสำหรับการแสดงผลจอภาพ ตามปกติ สแกนเนอร์มากับซอฟต์แวร์ เช่นผลิตภัณฑ์Adobe Photoshop ที่ให้ปรับขนาดและการปรับปรุงอื่นกับภาพที่จับมาตามปกติ สแกนเนอร์แนบติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับ Small Computer System Interface (SCSI) การประยุกต์ เช่นPhotoshop ใช้โปรแกรม TWAIN อ่านภาพ

31. นภัสสร  สิงห์เดช
อินเตอร์เน็ตคาเฟ่  ร้านที่ให้บริการเช่าคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเทอรืเน็ตโดยคิดค่าบริการเป็นนาทีหรือชั่วโมง ปัจจุบันนิยมบริการอินเทอร์เน็ตควบคู่ไปกับเกมประเภทที่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อีเบย์  เว็บไซต์ที่ให้บริการโพสต์ (Post) และเลือกซื้อสินค้าในรูปแบบ shopping Mall โดยผู้ซื้อและผู้จำหน่ายจะต้องสมัครเป็นสามชิกจึงจะสามารถใช้บริการได้

32. ปาริฉัตร จันทร์กระแจะ
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์  การกระทำความผิดทางกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

33. ภนิดา  แบ่งปัน
รอม  เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศหรือคำสั่งเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและคำสั่งนั้น จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถลบหรือแก้ไขด้วยวิธีการปกติ และจะคงอยู่ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้า
34. รัตติกาล  ไชยสุข
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  นิยมเรียกว่า อีเมล (E-mail) เป็นรูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเหมือนการส่งจดหมายทางไปรษณีย์  โดยผู้ส่งจะต้องมีที่อยู่หรือแอดเดรส (Address)

35. ลัดดา  บุญลือ
ผู้เชี่ยวชาญ  ผู้ชำนาญการหรือผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์เฉพาะสาขาของตนเอง

36. วรางคณา  สุขรวย
สารสื่อสารไร้พรมแดน  ระบบการติดต่อสื่อสารที่ทุกคนสามารถติดต่อกันได้ทุกเวลาทุกสถานที่

37. ศจี  ตาแสงทอง
การประมวลผล  การจัดการข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดสารสนเทศ เช่น การเปรียบเทียบ การคำนวณ การสรุป

38. สุรัตนา  เจาะดำ
ซอฟต์แวร์ระบบ  โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ เพื่อให้องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันได้

39. หทัยกาญจน์  มีสวนทอง
พระราชบัญญัติ  กฎหมายที่ใช้บังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น

1. พิทักษ์  พูลทอง

2. ภานุวัฒน์  วงษ์ใส
ไฟล์ข้อมูล  รูปแบบของข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทรูปแบบของข้อมูลนั้นๆ ได้จากลักษณะของไอคอนและนามสกุลของไฟล์ข้อมูล

3. จิตรกร  ปาสำลี
อัพโหลด  การถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปเก็บรักษาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์สำหลับถ่ายโอนข้อมูลโดยเฉพาะ

4. วิริทธิ์พล   โกศล
มัลติมีเดียคืออะไร?
          มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียงและวีดีทัศน์
          มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวีดิทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิ-สัมพันธ์(Interactive Multimedia)
          มัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน ภาพกราฟิก(Graphicimages) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้โดยใช้คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น
          ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของมัลติมีเดียได้ว่า มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเอง สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลาย ชาน่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น


5. สิริชัย  สุขสาด
อาชญากรคอมพิวเตอร์  ผู้กระทำความผิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้คือ มือสมัครเล่น (Amateur) ซึ่งจะกระทำความผิดเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น แครกเกอร์ (Cracker) ที่เป็นผู้บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และอาชญากรมืออาชีพ (Career Criminals) ที่มีความรู้ทางเทคนิคค่อนข้างสูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหวังทรัพย์สินของผู้อื่น

6. ชลกร  คุ้มสุข
เครือข่ายแลน  เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ๆมีพื้นที่จำกัดไม่เกิน 100 กิโลเมตร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็กๆ

7. ยศนิธิ  มาใหญ่
เครือข่ายแลน  ป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ ๆ มีพื้นที่จำกัดไม่เกิน 10  กิโลเมตร โดยมี จุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็ก ๆ  หรือในองค์กรเดียวกัน
เชิร์ฟเวอร์  นิยมเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้สำหรับเก็บข้อมูลและประมวลผลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน

8. ธรรมนิตย์  คัชมาตย์
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์  หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการกับข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เท็กซ์มักมีนามสกุล txt  และ doc

9. พงศกร  ทับนาค
เครือข่ายแมน  เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างท้องถิ่นหรือสำนักงานที่มีอาคารหรือสำนักงานอยู่ในหลายพื้นที่แต่อยู่ในประเทศหรือเมืองเดียวกันโดยมุ่งเน้นการใช้งานร่วมกันเฉพาะกลุ่มไม่เปิดบริการให้ใช้แบบสาธารณะจึงมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยภายในเครือข่ายค่อนข้างสูง

10. สุรดิษ  แจ่มแจ้ง
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์  หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการกับข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เท็กซ์มักมีนามสกุล txt และ doc

11. อรรถพล  เจือจันทร์

12. กิตติพงษ์  มานุ่ม

13. ชนินทร์  ชวาลกิจ
จานแม่เหล็ก  มีลักษณะเป็นวงกลม แบน และเครือบผิวด้วยไอออนออกไซด์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจนมีทั้งขั้วบวกและ ขั้วลบ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ข้อมูลดิจิทัล ทำให้สามารถ บันทึกข้อมูลได้

14. ธัญญ  พิชัยช่วง
เซิร์ชเอนจิ้น  เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภทเซริท์เอนจิ้นประเภทที่นิยมมากที่สุด คือ การค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ
จุดเชื่อมโยง  วัตถุหรือข้อมูลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อโยงวัตถุหรือข้อมูลอื่นๆ ได้ด้วยการคลิกโดยวัตถุหรือข้อมูลนั้นอาจเป็นตัวอักษร ข้อความ ภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว

15. รวิสุทธิ์  กลิ่นหอม
คอมพิวเตอร์แบบพกพา  คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยออกแบบให้มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และส่งเสริมการทำงานด้วยระบบเครือข่ายแบบไร้สายเพื่อส่งเสริมการใช้งานแบบอิสระไม่นิยมติดตั้งไว้ในสถานที่เดียวเหมือนกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

16. สาธิต  ทนปั่น
เคอร์เซอร์  ตัวชี้ตำแหน่งที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามการใช้งาน โดยปกติจะมีรูปแบบเป็นหัวลูกศร สำหรับชี้ตำแหน่งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเคอร์เซอร์ในโปรแกรมประมวลผลจะมีลักษณะคล้ายตัวไอ (I) ในภาษอังกฤษ เพื่อแสดงตำแหน่งที่พิมพ์

17. ณัฏฐาภรณ์  เกตุนามวงศ์
เท็กซ์ไฟล์  เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการเก็บข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นเท็กซ์ไฟล์มักมีนามสกุล .txt และ .doc

18.ณัฏฐณิชา ดำรงโภคภัณฑ์
ตรรกศาสตร์  องค์ความรู้ที่กล่าวถึงความเป็นไปได้หรือความเป็นเหตุเป็นผล ประกอบด้วยจริงและเท็จ ในระบบคอมพิวเตอร์นำมาใช้แทนค่า 0 และ 1 ในระบบเลขฐานสอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของโปรแกรม หรือ ภาษาคอมพิวเตอร์

19.สุวภัทร  สุขหล้า
มัลติเมียเดีย  การนำเสนอข้อมูลหลายประเภทพร้อมๆกันที่สามารถนำเสนอด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีหลายๆชนิดประกอบกันหรือนำเสนอด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีเพียงชิ้นเดียวก็ได้ เช่น การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงในเว็บไซต์พร้อมๆกัน


20.ตรงศร  ทิมอ่วม
ไมโครชิป  สื่อบันทึกข้อมูลประเภทนึง ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล มีขนาดเล็ก เวลาใช้งานต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิทัล คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่

21.วริศรา   มูลงาม
รอม  เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศหรือคำสั่งเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและคำสั่งนั้น จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถลบหรือแก้ไขด้วยวิธีการปกติ และจะคงอยู่ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้า

22.พิมพ์วิมล  เนื่องพุกก์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  เป็นระบบสารสนเทศที่นำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ  เพื่อนำไปใช้ในการควบคุมการทำงานหรือตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของรายงานสรุปประเภทต่างๆ




วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐


                        

                                
                 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภา

พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้ 
                พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
                มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
                มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ ข้อมูลคอมพิวเตอร์”  หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้นผู้ให้บริการหมายความว่า
                (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

                                                                หมวด ๑
                                              ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

                มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
                (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
                (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
                มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
                (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
                (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
                (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
                (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
                มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
                มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
                มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
                (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
                (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

                                                                    หมวด ๒
                                                           พนักงานเจ้าหน้าที่

                มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
                (๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
                (๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
                (๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                (๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
                (๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                (๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
                (๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
                (๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
                มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
                มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
                มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
                มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
                มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
                มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
                มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                                                                                                   ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
                                                                                                        พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
                                                                                                                 นายกรัฐมนตรี

                หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้















                                                                                   แหล่งที่มา  http://www.cowboythai.com


วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต





ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้

ด้านการศึกษา 
          - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ 
          - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
          - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น

ด้านการบันเทิง 
          - การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
          - สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
          - สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้

จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้ 
     
          1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
          2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
          3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
          4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
          5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
          6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
          7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
          8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

          โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร  




                                                                                     แหล่งที่มา  http://blog.eduzones.com

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต




ในยุคของสังคมแห่งข่าวสารปัจจุบัน  การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น  เครือข่าวคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกันได้ในปัจจุบันมี  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทุกทิศทั่วโลก  ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งได้ในเวลาอันรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของอินเตอร์เน็ต  นับได้ว่าเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารในปัจจุบัน  อินเตอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบคลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเตอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ ณ  จุดใดจุดหนึ่งก็ตามเพื่อทำการส่งข้อมูล  และข่าวสารระหว่างกันได้  การบริการข้อมูลในอินเตอร์เน็ตมีหลาหลายรูปแบบและมีผู้สนใจเข้ามาใช้เพิ่มขึ้นทุกวัน  มีเครือข่ายทั่วโลกที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตประมาณ 50,000 เครือข่าย  จำนวนผู้ใช้จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วในปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 100 ล้านคน  และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น  เราจึงกล่าวได้ว่า  อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขว้าง  มีการขยายตัวสูง  และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อข่ายที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน  อินเตอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะจงหากแต่มีประวัติความเป็นมาและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต  ในปี พ.ศ.2512  ก่อนที่จะก่อตัวเป็นอินเตอร์เน็ตจนกระทั่งทุกวันนี้
                อินเตอร์เน็ตมีพัฒนาการมาจาก  อาร์พาเน็ต(ARP Anet) ซึ่งเป็นเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้การรับผิดชอบของ  อาร์พาเน็ต (Advanced Pesearch Projects Agency)  ในสังกัดกระทรวงกลาโหม  ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต  และโดยเนื้อแท้แล้ว  อาร์พาเน็ต  เป็นพลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย  ยุคสงครามเย็นในทศวรรษของปี พ.ศ. 2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะสงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย  สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน  โดนเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ 





                                                                              แหล่งที่มา  http://www.comsimple.com


อินเทอร์เน็ตคืออะไร


อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net 

1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)

อินเทอร์เน็ต (Internet) 

คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา







                                                                                        แหล่งที่มา  http://www.thaiall.com



วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การทํางานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์


มีผู้คนที่ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์กันกว่า 20 ล้านคนทั่วโลกบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลายคนคงแปลกใจว่าจดหมายเหล่านี้หาเส้นทางเดินไปยังปลายทางได้ถูกต้องอย่างไร ทำไมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงขยายได้อย่างไม่มีวันจบสิ้น และการใช้งานบนเครือข่ายยังคงแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกมาก
รู้จักกับตู้จดหมาย (mailbox)
ก่อนที่จะรู้จักกับอีเมล์ควรมาทำความรู้จักกับตู้จดหมายของตัวเองก่อน mbox หรือ mailbox คือ ตู้จดหมายของตนเอง เมื่อผู้ใช้มีชื่อยูสเซอรือยู่บนเครื่องหลักที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต ก็จะได้รับตู้จดหมายโดยอัตโนมัติ ตู้จดหมายนี้เป็นที่เก็บจดหมายเมื่อมีผู้ส่งมาให้เรา ดังนั้นเมื่อเราเริ่มใช้เครื่องขณะใดก็ตาม ก็จะเปิดดูตู้จดหมายว่ามีจดหมายมาเก็บไว้ในตู้จดหมายนี้หรือไม่ สามารถเรียกจดหมายมาดูได้ เมื่อดูเสร็จแล้วจะนำออกจากตู้จดหมายหรือจะฝากเอาไว้ก่อนก็ได้ ตู้จดหมายจึงเสมือนตู้จดหมายจริง ๆ ที่เก็บจดหมายไว้ในเครื่องได้ และเป็นส่วนตัวเฉพาะบุคคลเท่านั้น
ปกติเมื่อเราเป็นผู้ใช้บนอินเตอร์เน็ตเราจะได้ชื่อแอดเดรสของการอ้างอิงบนอินเตอร์เน็ต และเราสามารถกำหนดชื่อนี้เป็นอีเมล์แอดเดรสได้ เช่น somsak@nwg.nectec.or.th ชื่อนี้มีสองส่วนคือส่วนหน้า @ และส่วนที่อยู่ข้างหลัง @ ส่วนหน้าหมายถึงตู้จดหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นชื่อตู้จดหมาย ซึ่งผู้ใช้ชื่อยูสเซอร์นี้เป็นเจ้าของ ส่วนเครื่องที่ตู้จดหมายเก็บไว้จะมีชื่อเครื่อง ซึ่งในที่นี้ก็คือส่วนที่อยู่หลัง @ คือ nwg.nectec.or.th
แอดเดรสของคุณคืออะไร
เมื่อคุณเริ่มเป็นสมาชิกในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สิ่งหนึ่งที่คุณได้รับคือมีชื่อยูสเซอร์บนเครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่ง ณ เครื่องหลักนี้คุณได้ชื่อยูสเซอร์ จึงเสมือนว่าคุณมีแอดเดรสอยู่บนเครื่องหลักที่ตั้งอยู่บนอินเตอร์เน็ต บนอินเตอร์เน็ตมีการกำหนดแอดเดรสของเครื่องโดยใช้ชื่อ โดเมน เช่น nontri.ku.ac.th หมายถึงเครื่อง nontri อยู่ในเครือข่าย ku.ac.th ซึ่งหมายถึงเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาอยู่ในประเทศไทย เช่นหากได้รหัสชื่อยูสเซอร์เป็น b38bmx ก็หมายถึงว่าคุณมีแอดเดรสเป็น b38bmx@nontri.ku.ac.th ชื่อนี้จะเป็นชื่อที่อ้างอิงได้ทั่วโลก ทุกจุดบนอินเทอร์เน็ตสามารถหาเส้นทางส่งข่าวสารมาให้ b38bmx@nontri.ku.ac.th ได้อย่างแน่นอน
ดังนั้นแอดเดรสที่ได้รับจึงหมายถึงชื่อยูสเซอร์บนเครื่องที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ชื่อนี้จะเป็นสิ่งที่ใช้อ้างอิงได้ การพิมพ์ลงในนามบัตรเพื่อให้ผู้อื่นติดต่อมาจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และอ้างอิงทั่วถึงกันทั้งหมดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การรับส่งเมล์ระหว่างเครื่องใช้โปรโตคอล SMTP
บนอินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นฐานการติดต่อระหว่างกัน บน TCP/IP มีการกำหนดการรับส่งข้อมูลระหว่างกันในรูปแบบการรับส่งจดหมาย (เมล์) คือ SMTP SMTP ย่อมาจาก Simple Mail Transfer Protocol SMTP ได้รับการออกแบบมาให้มีการรับส่งเมล์กันอย่างอัตโนมัติ กล่าวคือ ในเครื่องหลักที่คุณทำงานจะมีโปรแกรมรับและส่งเมล์ ทำงานเป็นเดมอนโปรเซส (การทำงานเป็นแบลกกราวนด์โปรเซสคือทำงานตลอดเวลา) เพื่อทำหน้าที่รับและส่งเมล์ เช่นโปรแกรม smail หรือ sendmail ทำหน้าที่คอยส่งเมล์ ถ้ามีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่ง ก็จะติดต่อกับปลายทางแล้วยังส่งไม่ได้ ก็จะเก็บจดหมายนั้นไว้ก่อน รออีกสักสองสามชั่วโมงก็จะส่งใหม่อีก ทำซ้ำจนกว่าจะส่งได้สำเร็ส หากส่งไม่ได้ในสามวันก็จะส่งกลับให้เจ้าของ พร้อมทั้งบอกเหตุผลของการส่งไม่ได้
โปรโตคอล SMTP นี้ เป็นโปรโตคอลหลักสำหรับการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้นหากในระบบเครือข่ายอื่น เช่นเครือข่ายของไมโครซอฟต์มีการส่งด้วย msmail โปรแกรม msmail มีโปรโตคอลการส่งของตัวเอง หากต้องการผ่านเข้ามาทางอินเตอร์เน็ตจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปโปรโตคอล SMTP ก่อน เส้นทางการเปลี่ยนนี้เรียกว่า SMTP เกตเวย์
เมล์บนอินเตอร์เน็ตหาเส้นทางไปได้อย่างไร
การกำหนดแอดเดรสของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีการกำหนด mbox เฉพาะของแต่ละบุคคลที่อยู่บนชื่อเครื่องหลัก ในการหาเส้นทางจึงกำหนดเป็นลำดับชั้น โดยใช้ชื่อ เช่น s38bmx@cc2.cpe.ku.ac.th โดยหาเส้นทางจาก .th หมายถึงประเทศไทย .ac หมายถึงสถาบันการศึกษา ku คือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ cpe คือภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ cc2 คือเครื่องคอมพิวเตอร์หลักของภาควิชา s38bmx คือ mbox ในเครื่อง cc2
สมมุติว่ามีจดหมายฉบับหนึ่งส่งมาจากอเมริกา ต้องการมายัง s38bmx@cc2.cpe.ku. ac.th ในขั้นต้นจะส่งผ่านเกตเวย์เข้าประเทศไทย ซึ่งมาจาก uunet เมื่อเข้ามาประเทศไทยก็จะหาตัวให้บริการชื่อโดเมน ซึ่ง ac.th อยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็จะไปขอใช้บริการหาชื่อ ku.ac.th ซึ่งได้เส้นทางมายังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นจึงมาถามหาหน่วยบริการชื่อโดเมน ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเก็บไว้ที่เครื่อง nontri เครื่อง nontri จะให้เส้นทางเครื่อง cc2.cpe ไป หลังจากนั้นก็จะได้เส้นทางครบจากต้นทางมายัง cc2.cpe





                                                                                               แหล่งที่มา  http://web.ku.ac.th